เรื่องที่  6.1.1  คลื่นกลและประเภทของคลื่น

 


1.  คลื่นกล  (mechanical  waves)

                คลื่นกล  คือ คลื่นที่ต้องอาศัยตัวกลางในการเคลื่อนที่  ได้แก่  คลื่นเสียง  คลื่นน้ำ  คลื่นในเส้นเชือก   เป็นต้น  คลื่นเหล่านี้สามารถถ่ายโอนพลังงานและโมเมนตัมโดยอาศัยความยืดหยุ่นของตัวกลาง  สำหรับคลื่นชนิดนี้  อัตราเร็วในตัวกลางชนิดเดียวกันจะมีค่าเท่ากัน

 

2.  ประเภทของคลื่น

                เราสามารถจำแนกประเภทของคลื่น  ตามลักษณะต่างๆ   ได้ดังต่อไปนี้

                2.1  การจำแนกคลื่นตามลักษณะของการสั่น  หรือตามลักษณะการเคลื่อนที่ ได้เป็น  2  ประเภท  คือ

                                1)  คลื่นตามขวาง  (transverse  waves)  คลื่นตามขวางเป็นคลื่นที่ทำให้อนุภาคของตัวกลางที่คลื่นเคลื่อนที่ผ่านมีการเคลื่อนที่ไปกลับในทิศทางที่ตั้งฉากกับทิศทางที่เคลื่อนที่  เช่น คลื่นในเส้นเชือก  เป็นต้น

 

2)  คลื่นตามยาว  (longitudinal  waves)  คลื่นตามยาวเป็นคลื่นที่อนุภาคของตัวกลางที่คลื่นเคลื่อนที่ผ่าน  มีการเคลื่อนที่ไปกลับในทิศทางเดียวกันกับทิศทางที่คลื่นเคลื่อนที่  เช่น  คลื่นในขดลวดสปริง  คลื่นเสียงเป็นต้น

2.2  การจำแนกตามความต่อเนื่องของแหล่งกำเนิด  การจำแนกประเภทนี้แบ่งคลื่นออกเป็น  2  ชนิด  คือ

                                1)  คลื่นดล  (pulse  wave)  เกิดจากแหล่งกำเนิดสั่น  หรือ  รบกวนตัวกลางทำให้เกิดคลื่นเพียง  1  หรือ  2  ลูก  เช่น  การใช้นิ้วจุ่มที่ผิวน้ำเพียงครั้งเดียวสองครั้ง