ศูนย์กลางใหญ่กว่า  10-4  เซนติเมตร  อนุภาคของของแข็งลอยกระจายอยู่ในของเหลว  ซึ่งมองเห็นได้ชัดเจน  เมื่อตั้งทิ้งไว้นิ่ง ๆ  จะเกิดการตกตะกอน  เช่น  น้ำโคลน  น้ำคลอง  น้ำอบไทย  ฯลฯ

 

 

แสดงการจัดจำพวกโดยใช้เนื้อสารเป็นเกณฑ์

 

 

                3.  ใช้สภาวะการนำไฟฟ้าเป็นเกณฑ์

                                3.1  สารที่นำไฟฟ้า  หมายถึงสารที่ยอมให้อิเลคตรอนหรือกระแสไฟฟ้าผ่านได้ดีในรูปของของแข็ง  เช่น  พวกโลหะต่าง ๆ ของเหลว  เช่น สารละลาย

                                3.2  สารที่ไม่นำไฟฟ้าหรือฉนวนไฟฟ้า  หมายถึงสารที่ไม่ยอมให้อิเลคตรอนหรือ กระแสไฟฟ้าผ่านได้  เช่น  แก้ว  ไม้  ยาง  พลาสติก  ไมก้า  แก๊สเฉื่อย  ได้แก่ ฮีเลี่ยมนีออน  อาร์กอน คริปตรอน  เซนอน  เรเดียม

                4.  ใช้สภาวะการละลายเป็นเกณฑ์

                                4.1  สารที่ละลายน้ำได้  หมายถึงเมื่อนำของเหลวสองชนิดมารวมด้วยกันของเหลวทั้งสอง  “ปนเข้ากันได้อย่างสมบูรณ์”  เช่น  เอทิลแอลกอฮอล์กับน้ำ

                                4.2  สารละลายน้ำไม่ได้  หมายถึงเมื่อนำของเหลวสองชนิดมารวมกันจะแยกกันอย่างเด็ดขาดของเหลวทั้งสอง  “ปนกันไม่ได้”  เช่น  ปรอทกับน้ำ  น้ำมันก๊าดกับน้ำ  น้ำกับน้ำมัน