เรื่องที่  1  ความหมายและชนิดของแรงเสียดทาน

 

 

            1.  แรงเสียดทานคือ แรงที่สวนทางการเคลื่อนที่ของวัตถุแรงเสียดทานจะต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุทำให้วัตถุเคลื่อนที่ยากขึ้นหรือช้าลง เพราะแรงเสียดทานเกิดตรงจุดที่ผิวของวัตถุสัมผัสกัน เช่น การเคลื่อนย้ายตู้เสื้อผ้าที่มีขนาดใหญ่ไปตามพื้น เป็นต้น ปริมาณของแรงเสียดทายขึ้นอยู่กับน้ำหนักของวัตถุและ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สภาพผิวของวัตถุ  แรงเสียดทานทำให้เราต้องออกแรงกับวัตถุมากขึ้น  และทำให้สิ้นเปลืองพลังงาน  ดังนั้นมนุษย์จึงคิดค้นวิธีลดแรงเสียดทานเพื่อสะดวกในการทำงาน

                 การดลแรงเสียดทาน  สามารถทำได้ดังนี้

                 1.  สร้างถนนเป็นถนนราดยาง เพื่อให้มีผิวเรียบเป็นการลดแรงเสียด

ทานให้น้อยลง

                 2.  ใช้น้ำมันหล่อลื่นลดการสึกหรอของชิ้นส่วนเครื่องจักรที่มีการเคลื่อน

ที่

                 3.  ใช้ล้อและเพลาในการสร้างยานพาหนะ เช่นรถยนต์ เกวียน เป็นต้น

 

            2.  ชนิดของแรงเสียดทาน มี 2 ชนิด ดังนี้

                 2.1  แรงเสียดทานสถิตย์ หมายถึง แรงเสียดทานที่เกิดขึ้นบนวัตถุที่อยู่

นิ่ง ๆ หรือวัตถุที่กำลังจะเคลื่อนที่ โดยมีข้อควรจำดังนี้

                       -  วัตถุที่อยู่นิ่งไม่เคลื่อนที่โดยไม่มีแรงอื่นมากระทำ แรงเสียดทาน

มีค่าเท่ากับศูนย์

                       -  วัตถุมีแรงอื่นมากระทำแต่ยังไม่เคลื่อนที่    เพียงแต่กำลังจะ

เคลื่อนที่  แรงเสียดทานจะมีค่าเท่ากับแรงกระทำนั้นหรือเพิ่มมากขึ้นตามแรงที่กระทำ

                       -  แรงเสียดทานจะมีมากที่วัตถุเริ่มเคลื่อนที่พอดี