๑๗๗

 

ปลาสร้อยลอยล่องชล                         ว่ายเวียนวนปนกันไป

เหมือนสร้อยทรงทรามวัย                                  ไม่เห็นเจ้าเศร้าบ่วาย

คำว่า “สร้อย” คำแรกเป็นชื่อปลา
คำว่า “สร้อย” คำหลังหมายถึงสร้อยคอ

.๔ การใช้คำอัพภาส หมายถึง คำซ้ำชนิดหนึ่ง โดยใช้พยัญชนะซ้ำเข้าไป
ข้างหน้าคำ เช่น ริก เป็น ระริก ยิ้ม เป็น ยะยิ้ม แย้ม เป็น ยะแย้ม
การใช้คำอัพภาสหลายๆ คำในที่ใกล้กัน ทำให้แลเห็นภาพ และเกิดความ
รู้สึกสะเทือนอารมณ์ตามไปด้วย เช่น สาดปืนไฟยะแย้ง แผลงปืนพิษยะยุ่ง พุ่งหอกใหญ่
คะคว้าง ขว้างหอกซัดคะไขว่

(ลิลิตตะเลงพ่าย)

 

.๕ การใช้โวหารภาพพจน์ โวหารภาพพจน์ หมายถึง ถ้อยคำที่เรียบเรียง
โดยไม่กล่าวอย่างตรงไปตรงมา ผู้ประพันธ์มีเจตนาจะให้ผู้อ่านเข้าใจ และประทับใจยิ่งขึ้น
กว่าการใช้คำบอกเล่าธรรมดา การใช้โวหารภาพพจน์อาจทำได้หลายวิธี เช่น

..๑ เปรียบสิ่งหนึ่งว่าเหมือนอีกสิ่งหนึ่ง ในการเปรียบเทียบนี้จะมี

คำแสดงความหมายอย่างเดียวกับคำว่าเหมือน ปรากฏอยู่ด้วย ได้แก่คำว่า เปรียบ เหมือน
เสมือน ดุจ ประดุจ ดุจดัง ราวเพียง กล เช่น

คุณแม่หนาหนักเพี้ยง         พสุธา (เพี้ยง - โทโทษ มาจากคำว่าเพียง)

คุณบิดรดุจอา                        กาศกว้าง

..๒ เปรียบสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง บางตำราเรียกว่า อุปลักษณ์ เช่น

พ่อแม่คือ ร่มโพธิ์ ร่มไทรของลูก

ราชาธิราชน้อม                    ในสัตย์
อำมาตย์เป็นบรรทัด             ถ่องแท้

..๓ สมมุติสิ่งต่าง ๆ ให้มีกิริยาอาการเหมือนมนุษย์ หรือที่เรียกว่า

บุคลาธิษฐาน เช่น น้ำเซาะหินรินรินหลากไหล ไม่หลับเลยชั่วฟ้าดินสลาย

..๔ การใช้คำสัญลักษณ์หรือสิ่งแทนสัญลักษณ์ หมายถึง สิ่งหนึ่ง

ใช้แทนอีกสิ่งหนึ่ง เช่น แม้นเป็นบัวตัวพี่เป็นภุมรา เชยผกาโกสุมประทุมทอง

บัว เป็นสัญลักษณ์แทน ผู้หญิง
ภุมรา เป็นสัญลักษณ์แทน ผู้ชาย